top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนHKT

เตือนภัย : Romance Scam เธอไม่รัก แล้วยังจะมาหลอก

“ความรักทำให้คนตาบอด” เป็นสำนวนไทยที่หลายๆคนคงคุ้นหู ความหมายก็คือ ใครก็ตามลองได้ตกอยู่ในห้วงแห่งความรักแล้ว จากคนที่ในยามปกติเคยคิดอะไรเป็นเหตุเป็น กลายเป็นคนที่ไร้สติ ที่ยอมทำเพื่อความรักทุกอย่าง สำนวนนี้มีมาตั้งแต่โบราณ แต่ก็ยังไม่ล้าสมัย ซ้ำร้ายในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ความรักยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพในหลอกลวงเอาทรัพย์สิน จนหลายคนตกเป็นเหยื่อเสียเงินเสียทองแทบสิ้นเนื้อประดาตัว

ในปัจจุบัน คนไทยคงจะคุ้นเคยกับคำว่า  “Romance Scam” หรือที่แปลเป็นไทยว่า “หลอกรักออนไลน์” อาทิ ในวันที่ 15 ก.พ. 2563 หรือ 1 วันหลังจากเทศกาลแห่งความรักอย่างวันวาเลนไลน์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยแพร่บทความ “วาเลนไลน์ ปอท.เตือนภัย หลอกรักออนไลน์ (Romance Scam)”  เตือนภัยประชาชน ถึงกลลวงของเหล่ามิจฉาชีพที่ล่อลวงเหยื่อโดยใช้ความรักเป็นกลอุบาย ดังนี้

 

  1. หาเหยื่อ โดยส่วนใหญ่จะเลือกเหยื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่มีครอบครัว มีฐานะดี

  2. แปลงโฉมตัวเองโดย สร้างโปรไฟล์ปลอมให้ดูสวย-หล่อมีฐานะดี มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี หรูหราเพื่อล่อเหยื่อเข้ามาติดกับดัก พร้อมเก็บข้อมูลและวางแผน โดยมักอ้างว่ามีอาชีพ หมอ ทหาร วิศวกร สถาปนิก นักธุรกิจ เป็นต้น โดยมีรูปแบบการดำเนินชีวิตหรูหรา และจะอ้างว่าเพิ่งเลิกกับภรรยา หรือ ภรรยาเสียชีวิต ตอนนี้รู้สึกเหงา อยากมีชีวิตคู่อีกครั้ง โดยทำทีว่าสนใจเหยื่อ รักเหยื่อ อยากสร้างความสัมพันธ์กับเหยื่อ

  3. ปากหวานให้ตายใจ หว่านล้อมในรูปแบบต่างๆ ให้เหยื่อรู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญ โดยแชทด้วยเวลาไม่นานจะรีบพัฒนาความสัมพันธ์โดยเรียกเหยื่อว่า Darling ,Sweet heart ,My Love  เป็นต้น

  4. ร้อยเล่ห์เพทุบาย เมื่อเหยื่อตายใจหลงรัก ก็จะสร้างสถานการณ์ให้น่าสงสาร และเห็นใจ เพื่อขอเงิน ซึ่งที่ใช้บ่อยคือ

      4.1 หลอกว่าจะมาแต่งงานกับเหยื่อที่เมืองไทย โดยจะส่งทรัพย์สิน เช่น เงินสด ทองคำ เครื่องเพชร มาให้เหยื่อที่เมืองไทย มีการถ่ายรูปส่งมาให้ดู โดยรูปที่เอามาใช้ส่วนใหญ่จะนำมาจาก Google จากนั้นจะมีหน้าม้าเป็นคนไทย โทรศัพท์มาอ้างกับเหยื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร หลอกเหยื่อว่ามีทรัพย์สินส่งมาจากต่างประเทศจริง ขอให้เหยื่อโอนเงินค่าภาษีมาให้

 

     4.2 หลอกว่าตัวเองป่วย แต่ประกันสังคม หรือประกันชีวิต ยังเบิกจ่ายไม่ได้ ขอให้เหยื่อโอนเงินมาให้ก่อนแล้วจะใช้คืน

     4.3 หลอกว่าได้รับสัมปทานจากรัฐบาล แต่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียม ขอให้เหยื่อช่วยโอนเงินมาให้แล้วจะใช้คืน

     4.4 หลอกว่าได้รับมรดกเป็นเงินมหาศาล แต่ต้องชำระภาษีมรดก โดยขอให้เหยื่อโอนเงินมาให้แล้วจะใช้คืน และ

     4.5 ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาวผิวสีร่วมกับคนไทย ในการกระทำความผิด

 

หากท่านใดได้รับความเสียหายจากกรณีดังกล่าวหรือในลักษณะเดียวกัน สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับสถานีตำรวจในพื้นที่โดยเร็วที่สุดหรือแจ้งความออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com  หรือสามารถแจ้งเบาะแสมายังสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ที่เบอร์สายด่วน 1502


ข้อมูลส่วนตัวหลุดไป  ใครก็ช่วยไม่ได้

     ทุกวันนี้ อินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ชีวิต ของคนเราไปแล้ว ตั้งแต่การซื้อสินค้าออนไลน์ ซื้ออาหารผ่านแอพ การอัปเดตชีวิตผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย จองโรงแรมผ่านแอปพลิเคชัน การทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ฯลฯ

     ซึ่งในการจะเข้าใช้งานหรือเข้าถึงบริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล เพศ อายุ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขประจำตัวบัตรประชาชน เลขบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร

     บางครั้งเป็นการยืนยันตัวตนเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบ บางครั้งเพื่อการติดต่อรับส่งสินค้าหรือการชำระค่าสินค้า ข้อมูลที่เราให้ไปนั้น อาจไปปรากฎอยู่บนอินเทอร์เน็ตหรือถูกนำไปใช้งานอย่างอื่นที่เราไม่คาดคิด ทำให้เรากลายเป็นเหยื่อหรือผู้ประสบภัยออนไลน์ได้ จากการที่เราพบเห็นทุกวันนี้ ในเคสเกี่ยวกับ คอลเซ็นเตอร์ ที่มีข้อมูล ที่อยู่เบอร์โทรเราทุกอย่าง รวมถึงเลขบัตรประชาชน ที่ทำให้คนหลงเชื่อ และเสียทรัพย์สินมานักต่อนักแล้ว

     ซึ่งข้อมูลที่รั่วไหลนั่น อาจจะมาจาก เว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เราใช้ ที่เก็บข้อมูลที่เราให้ไป นอกจากจะใช้เพื่อเป็นฐานข้อมูลลูกค้าแล้ว ยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

ข้อมูลส่วนบุคคล หลุดไปได้อย่างไร ?

  • จากตัวผู้ใช้เอง ด้วยการโพสต์ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ลงบนสื่อสังคมออนไลน์

  • จากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เราเข้าไปใช้บริการ โดยเรากดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเอง โดยไม่ได้อ่านรายละเอียด เช่น ขอส่งข้อมูลของเราไปให้บริษัทในเครือ เพื่อการประชาสัมพันธ์บริการอื่น ๆ ต่อ

  • จากการโดนแฮกหรือเจาะขโมยข้อมูลในบริษัทที่เราให้ข้อมูล แม้ว่าในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน จะระบุว่ามีจะเก็บรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับ แต่หากไม่มีระบบความมั่นคงปลอดภัยที่ดีพอ อาจเกิดการรั่วไหลของข้อมูล

  • จากการหลอกลวงด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้ง Phishing หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ปลอม โดยส่งมาทางอีเมลหรือลิงก์ต่าง ๆ  หลอกขอข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อนำไปใช้ หลอกขอสำเนาบัตรประชาชนเพื่อนำไปเปิดบัญชีปลอม

 

ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล

  • ถูกนำไปในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขที่บัตรประชาชนถูกนำไปใช้ในการเปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น หรือนำไปทำการกู้เงินในนามของเจ้าของเลขบัตร

  • โดนโจรกรรมทางการเงิน เช่น ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า ถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคารฃ

  • ถูกนำไปทำการตลาดต่อ ทำให้เราถูกรบกวนด้วยโฆษณาขายสินค้าและบริการต่าง ๆ

  • ถูกปลอมแปลงตัวตน เอาไปแอบอ้างทำเรื่องที่เสียหายหรือผิดกฎหมาย



 

 

ดู 16 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Коментарі


bottom of page